หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
สอบถามเพิ่มเติมกับ อาจารย์ ดร.นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
English
หลักสูตรนี้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ผู้สำเร็จการศึกษาจึงมีสิทธิที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- ขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต และ
- ผลการศึกษาใช้ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตได้
โครงสร้างหลักสูตร
- ความเป็นมาของหลักสูตร
หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2536 เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถจัดการความรู้ นำมาตรการ กลไกใหม่ ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและดำเนินงานสวัสดิการสังคม ทำให้สามารถลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม และความอยู่ดีกินดีมีสุขให้เกิดขึ้นในสังคม มหาบัณฑิตที่จบการศึกษาได้นำวิชาความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม หลักสูตรดังกล่าวได้รับการพัฒนาและปรับหลักสูตรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันซึ่งใช้ชื่อว่า หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม
- ชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25560731103276
ภาษาไทย : หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสวัสดิการสังคม
ภาษาอังกฤษ : Master of Social Work Program in Social Welfare Administration
- ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารสวัสดิการสังคม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : สส.ม. (การบริหารสวัสดิการสังคม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Social Work (Social Welfare Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.S.W. (Social Welfare Administration)
โปรแกรมการศึกษา: มี 3 แผน คือ แผน ก 1 แผน ก 2 และแผน ข
(1) แผน ก แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
(2) แผน ก แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
(3) แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษารายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาการศึกษาอิสระ จำนวน 3 หน่วยกิต และต้องสอบประมวลความรู้ข้อเขียนและปากเปล่า
ระยะเวลาศึกษา : 2 ปีการศึกษา และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
เรียนวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
- ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
- ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก 1 คือ
(1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขา จากสถาบันการศึกษาภายในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. รับรอง
(2) มีประสบการณ์บริหารสวัสดิการสังคมอย่างน้อย 2 ปี หรือมีประสบการณ์การทำงานวิจัย
(3) ผ่านการสอบคัดเลือกตามระบบของมหาวิทยาลัย
(4) มีสุขภาพแข็งแรง และผ่านการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
(5) สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรกำหนดได้ไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาละร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
แผน ก 2 และ แผน ข คือ
(1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขา จากสถาบันการศึกษาภายในประเทศ หรือ ต่างประเทศที่สำนักงาน กพ. รับรอง
(2) ผ่านการสอบคัดเลือกตามระบบของมหาวิทยาลัย
(3) มีสุขภาพแข็งแรง และผ่านการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย
(4) สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตรกำหนดได้ไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาละร้อยละ 80 ของเวลาเรียน
- โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร : 48 หน่วยกิต
หมวดวิชา |
แผน ก 1 วิทยานิพนธ์ (หน่วยกิต) |
แผน ก 2 วิทยานิพนธ์ (หน่วยกิต) |
แผน ข การศึกษาอิสระ (หน่วยกิต) |
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 2. หมวดวิชาบังคับ 2.1 วิชาแกน 2.2 วิชาเฉพาะสาขา 2.3 การฝึกภาคปฏิบัติ 3. หมวดวิชาเลือก 4. วิทยานิพนธ์ 5. การศึกษาอิสระ 6. สอบประมวลความรู้ข้อเขียน และสอบปากเปล่า |
3
- - 9 (800 ชั่วโมง) - 36 - - |
ไม่นับหน่วยกิต
12 12 9 (800 ชั่วโมง) 3 12 - - |
ไม่นับหน่วยกิต
12 12 9 (800 ชั่วโมง) 12 - 3 ผ่าน/ไม่ผ่าน |
รวมไม่น้อยกว่า |
48 |
48 |
48 |
- ก่อนหน้า
- ต่อไป >>